Pressure Gauge (High pressure)
หนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกไดอะแฟรมที่เหมาะสมกับเกจวัดแรงดัน ก็คือ Pressure Range หรือย่านการวัด หากย่านการวัดต่ำเราอาจเลือก Diaphragm Seal ได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น Flange, uPVC, Ferrule หรือ Union Diaphragm ก็ได้
หากย่านการวัดของผู้ใช้สูงเกินกว่า 60bar ผู้ขายที่มีประสบการณ์จะแนะนำให้เลือกใช้ Flush Diaphragm เพราะไดอะแฟรมประเภทนี้ ออกแบบมาสำหรับใช้ในงานแรงดันสูงโดนเฉพาะ
Flush Diaphragm Seal
ต่างจากไดอะแฟรมประเภทอื่นอย่างไร ?
สิ่งที่ทำให้ Flush Diaphragm นั้นแตกต่างมีจุดสังเกตดังต่อไปนี้
- ลักษณะภายนอก : เล็ก เพรียว กะทัดรัด หน้าตาคล้ายกับ Pressure Snubber
- แผ่นไดอะแฟรม : แผ่นไดอะแฟรมจะมีหน้าตัดเล็กกว่าไดอะแฟรมชนิดอื่น ๆ
การที่แผ่นไดอะแฟรมมีขนาดหน้าตัดเล็ก ทำให้รองรับแรงดันได้สูงกว่าไดอะแฟรมประเภทอื่น ๆ
โดยเรามีเคสจากประสบการณ์ของลูกค้าที่มักพบปัญหาเวลาใช้ Flange Diaphragm หรือ uPVC Diaphragm เมื่อนำไปติดตั้งกับเกจวัดแรงดันสูง ยกตัวอย่างเช่นเกจวัดแรงดันที่มีย่านการวัด 0-100bar, 0-250bar หรือ 0-600bar ปรากฎว่าใช้ได้เพียงไม่นานแผ่นไดอะแฟรมซีลก็เสียหาย
ทำไมแผ่น Diaphragm Seals จึงเสียหาย
แผ่นไดอะแฟรม เป็นเพียงชิ้นงานบาง ๆ ที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นคลื่นซ้อนสลับกันหลายชั้น (ดูภาพตัวอย่าง) โดยการที่แผ่นไดอะแฟรมมีขนาดใหญ่ เมื่อมีแรงดันมาปะทะและแผ่นไดอะแฟรมขยับ หากเป็นแรงดันสูงเมื่อมาเจอหน้าตัดที่ใหญ่ทำให้เกิดการขยับที่เยอะและรวดเร็ว ทำให้แผ่นไดอะแฟรมบาง ๆ เกิดความเสียหาย
แต่หากแผ่นไดอะแฟรมมีหน้าตัดที่เล็ก เหมือนกับ Flush Diaphragm Seal ต่อให้มีแรงดันสูงเข้ามาก็สามารถรองรับได้สบายเพราะพื้นที่หน้าตัดเล็กทำให้การขยับตัวเกิดขึ้นน้อยกว่า
แต่ข้อเสียก็คือหากใช้กับเกจวัดแรงดันที่มีย่านการวัดต่ำ ก็อาจจะไม่สามารถทำให้แผ่นไดอะแฟรมขยับได้เลย